เมนู

อุคคคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณกึ่งคาวุต ด้วยเรียงอิฐทองคำสร้าง
วิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า โกนาคมนะ.
สุมังคลคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณ 20 อุสภะ1 ด้วยเรียงเต่าทองคำ
สร้างวิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ
สุทัตตคฤหบดี ได้ซื้อพื้นที่ประมาณ 8 กรีส ด้วยเรียงกหาปณะสร้าง
วิหารถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ฉะนั้นแล.
สมบัติทั้งหลายเสื่อมสิ้นไปโดยลำดับ ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น
สมควรแท้ที่จะเบื่อหน่ายในสมบัติทั้งปวง สนควรแท้ที่จะพ้น ไปเสีย ฉะนั้นแล.

[ว่าด้วยนวกรรม]


บทว่า ขณฺฑํ ได้แก่ โอกาสที่ร้าว.
บทว่า ผุลฺลํ ได้แก่ โอกาสที่แตกแยะ.
บทว่า ปฏิสงฺขริสฺสติ ได้แก่ จักทำให้คืนเป็นปกติ.
ในกุรุนทีแก้ว่า ก็ภิกษุผู้ได้นวกรรม ไม่ควรถือเอา เครื่องมือมีมีด
ขวานและสีวเป็นต้น ลงมือทำเอง. ควรรู้ว่า เป็นอันทำแล้วหรือไม่เป็นอันทำ.

[ว่าด้วยการจับจองเสนาสนะ]


หลายบทว่า ปิฏฺฐิโต ปิฏฺฐิโต คนฺตฺวา มีความว่า ได้ยินว่า
พระเถระมัวปรนนิบัติภิกษุไข้อยู่ มัวช่วยเหลือภิกษุผู้แก่ผู้เฒ่าอยู่ จึงมาข้างหลัง
ภิกษุทั้งปวง. ข้อนี้เป็นจารีตของท่าน. ด้วยเหตุนั้นพระธรรมสังคาหกาจารย์จึง
กล่าวว่า ไปล้าหลัง.
บทว่า อคฺคาสนํ ได้แก่ เถรอาสน์
บทว่า อคฺโคทกํ ได้แก่ ทักษิโณทก.
บทว่า อคฺคปิณฺฑํ ได้แก่ บิณฑบาตสำหรับเพระสังฆเถระ.
1 อุสภะ = 52 วา.

บทว่า ปติฏฺฐาเปสิ ได้แก่ ทำการบริจาคทรัพย์ 18 โกฏิสร้างไว้
อนาถบิณฑิกดฤหบดี บริจาคทั้งหมด 54 โกฏิ ด้วยประการฉะนี้.

ว่าด้วยธรรมเนียมในโรงฉัน


บทว่า วิปฺปกตโภชเน มีความว่า ภิกษุกำลังฉันอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง
ในละแวกบ้านก็ตาม ในวิหารก็ตาม ในป่าก็ตาม เมื่อการฉันยังไม่เสร็จไม่ควร
ให้ลุก. ในละแวกบ้าน ภิกษุผู้มาที่หลังพึ่งรับภิกษาแล้วไปยังที่แห่งภิกษุผู้เป็น
สภาคกัน. ถ้าชาวบ้านหรือภิกษุทั้งหลาย นิมนต์ว่า ท่านจงเข้าไป ควรบอก
ว่า เมื่อเราเข้าไป ภิกษุทั้งหลายจักต้องลุกขึ้น. เธออัน เขากล่าวว่า ที่นี่ยังมี
ที่นั่ง จึงควรเข้าไป. ถ้าใคร ๆ ไม่กล่าวคำนี้น้อยหนึ่ง พึงไปที่อาสนศาลาแล้ว
เฉียดมายืนอยู่ในที่แห่งภิกษุผู้เป็นสภาคกัน ; เมื่อภิกษุทั้งหลายทำโอกาสแล้ว
เธออันเขานิมนต์ว่า นิมนต์เข้ามาเถิด ดังนี้ พึงเข้าไป. แต่ถ้า ที่อาสนะซึ่ง
จะถึงแก่เธอ มีภิกษุมิได้ฉันนั่งอยู่ จะให้ภิกษุนั้นลุกขึ้น ควรอยู่ ภิกษุผู้นั่ง
ดื่มหรือขบฉันยาคู และของเคี้ยวเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว แม้มีมือว่างก็
ไม่ควรให้ลุก จนกว่าภิกษุอื่นจะมา เพราะว่าเธอนับว่าเป็นผู้ฉัน ค้างเหมือนกัน.
ข้อว่า สเจ วุฏฺฐาเปติ มีความว่า ถ้าแม้เธอแกล้งล่วงอาบัติให้ลุก
ขึ้นจนได้.
ข้อว่า ปริวาริโต จ โหติ มีความว่า เธอจะให้ภิกษุใดลุก, ถ้า
ภิกษุนี้ เป็น ผู้ห้ามโภชนะแล้ว, เธออันภิกษุนั้นพึงกล่าวว่า จงไปหาน้ำมา.
จริง ข้อนี้แล เป็นสถานอันหนึ่ง ที่ภิกษุหนุ่มใช้ภิกษุแก่กว่าได้. ถ้าเธอไม่
หาน้ำมาให้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงแสดงหน้าที่ซึ่งภิกษุผู้อ่อน
กว่าจะพึงกระทำ จึงตรัสดำเป็นต้น ว่า พึงกลืนเมล็ดข้าวให้เรียบร้อย.